Newsletter from the animal science, veterinary science, and livestock economics extension specialists ,Veterinary News articles published daily. Includes news on animal-related studies,food, animal diseases, domestic pets, animal research and wildlife conservation
02 April 2012
ความผิดพลาดในการตรวจสอบสารเร่งเนื้อของไต้หวัน
จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขของไต้หวันรายงานก่อนหน้านี้ว่าพบสารเร่งเนื้อกลุ่ม ractopamine, zilpaterol ในตัวอย่างเนื้อที่นำเข้าจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งสารดังกล่าวไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในทั้งสามประเทศ ทางกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง (DAFF) ของออสเตรเลียได้แถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวว่า ทางไต้หวันไม่สามารถยืนยันแหล่งผลิตของเนื้อที่ตรวจพบสารเร่งดังกล่าวได้ และทางหน่วยงานก็ไม่ได้รับการแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการจากไต้หวันแต่อย่างใด
Mr.Dan Coup จากสมาคมอุตสาหกรรมผลิตเนื้อของนิวซีแลนด! ์ ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า ทางไต้หวันอาจดำเนินการตรวจสอบผิดพลาด หรือมีการปนเปื้อนข้ามตัวอย่างที่ใช้ตรวจสอบ รวมทั้งสินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดก็อาจมีการติดฉลากผิด, มีการปนกันของผลิตภัณฑ์จากหลายแหล่ง เช่น ในการผลิตเนื้อบด หรืออาจเกิดการปนเปื้อนระหว่างเนื้อจากแต่ละแหล่งในขั้นตอนการตัดแต่งชิ้นส่วน ที่สำคัญ การสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อนำเข้า มักมีการตรวจสอบในแหล่งจำหน่ายมากกว่าที่จะเป็นด่านศุลกากรหรือท่าเทียบสินค้าอีกด้วย ทำให้ยากที่จะเชื่อมั่นได้ว่าการตรวจสอบนั้นมีความถูกต้อง
ตัวแทนจาก DAFF ชี้แจงว่า หน่วยงานตรวจสอบส่วนกลางได้มีการตรวจสอบสารตกค้างทั้งในกลุ่ม ractopamine, zilpaterol และกลุ่มอื่นๆ โดยตั้งแต่ปี ค.ศ.2003 (พ.ศ.2546) เฉพาะในกลุ่ม ractopamine และอนุพันธ์ มีการตรวจสอบไปแล้วกว่า 300 ตัวอย่างต่อปี และไม่เคยตรวจพบสารตกค้างสองชนิดดังกล่าวนี้ Mr.Coup เสริมว่าในประเทศนิวซีแลนด์ก็ไม่พบสารตกค้างดังกล่าวเช่นกัน
&! nbsp; คณะรัฐมนตรีของไต้หวันได้สั! ่งการเพื ่อเตรียมรับมือกับปัญหาความปลอดภัยทางอาหารดังกล่าวแล้ว โดยนายกรัฐมนตรี เฉิน ชุง กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม มีมติให้ทางการดำเนินการตรวจสอบในกระบวนการผลิตอาหารอย่างเข้มงวดนับจากนี้ไป
Ms.Rachel Williams จากบริษัทความปลอดภัยทางอาหารของออสเตรเลีย AnYi ให้สัมภาษณ์ทาง FoodNavigator เกี่ยวกับประเด็นการปนเปื้อนดังกล่าวว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเนื้อทั้งสองประเทศในระยะยาวแต่อย่างใด แต่จะดำเนินการให้ความรู้เกษตรกรและเจ้าของฟาร์มให้เลือกใช้สารเคมีที่ทราบที่มาอย่างชัดแจ้ง รวมไปถึงการตรวจสอบตัวอย่างในโรงเชือด ก่อนที่จะไปถึงประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อเหล่านั้น และอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณสารตกค้างในอาหารของทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วย
ที่มา : FoodNavigator-Asia (02/04/55)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment